UFABETWINS นี่คือคำถากถางที่สร้างขึ้นมาเสียดแทงแฟนผี แท้ที่จริงแล้วคนเหล่านั้นไม่รู้เลยว่า มันเกิดจาก “แทคติก” ที่น่ากลัวในเกมรุกของแมนยูไนเต็ดล้วนๆต่างหาก จงประมาทต่อไป แล้วความตายจะมาเยือนเอง
ฤดูกาล 2019/20 เป็นซีซั่นแห่งการเปลี่ยนแปลงของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการผ่านช่วงสิ้นหวังจนถึงขั้นหมดศรัทธากับผู้จัดการทีม ในผลงานที่ย่ำแย่ลงไปถึงกลางตาราง บางครั้งฟอร์มแทบจะไม่ต่างกับทีมหนีตกชั้นเลยด้วยซ้ำช่วงต้นซีซั่น
แต่พวกเขาก็ผ่านช่วงเวลาเลวร้ายมาได้ด้วยการเสริมทัพนักเตะที่เข้ามาเติมสิ่งที่ขาด และแก้จุดอ่อนเกมรุกของทีมได้สำเร็จ การค่อยๆปรับจูนทีมและฟอร์มการเล่นที่พัฒนาดีวันดีคืนของดาวรุ่งที่เลื่อนขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญทีละคนสองคนให้กับชุดใหญ่
ทุกสิ่งกลับตาลปัตรจากการเป็นทีมกลางตาราง กลายเป็นผู้ไล่ล่าในช่วงท้ายซีซั่น และโปรเจ็คต์รีสตาร์ทที่ควบเข้าเส้นชัยโค้งสุดท้ายขึ้นสูงถึงอันดับ3ของพรีเมียร์ลีกอย่างสมศักดิ์ศรี
แต่ในความยอดเยี่ยมนี้มันก็จะมีสิ่งหนึ่งที่มักตามมาเสมอนั่นก็คือคำเย้ยหยันจากแฟนทีมฝั่งตรงข้ามไม่ว่าจากทีมไหนก็ตามในเรื่องของ “การได้จุดโทษ” ของแมนยูไนเต็ดที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ที่ทีมเราได้จุดโทษและยิงประตูสำคัญๆได้เสมอในช่วงนี้
จนกระทั่งกลายเป็นอีกหนึ่งคำแซะที่แฟนผีโดนกันนั่นก็คือ “แชมป์จุดโทษ” นั่นเอง
ซึ่งอยากบอกว่า มันเป็นคำแซะที่ไม่ได้เจ็บปวดอะไรเลย (แชมป์หญ้าสวยยังเจ็บกว่าเลย 5555) พวกเราแทบไม่รู้สึกอะไรกับคำนี้หรอก เพราะในความเป็นจริง ภาพรวมๆก็คือ การที่แมนยูไนเต็ดได้จุดโทษบ่อยๆนั้นมันสะท้อนให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมจากคุณภาพและปริมาณการทำเกมรุกของเราอยู่แล้ว และจริงๆควรจะให้เครดิตทีมเรามากกว่า..ว่า “ทำเกมบุกดีจนเรียกจุดโทษได้บ่อยๆ” แต่กองแช่งก็จะหยิบมาแค่ประเด็นแบบnonsense ในแง่มุมเดียวว่า “กรรมการแจกจุดโทษแมนยูอีกแล้ว” แต่ทำเป็นแกล้งไม่เห็นต้นสายปลายเหตุว่า อ้าว แล้วทำไมทีมเราถึงได้จุดโทษบ่อยๆล่ะ
คุณมองไม่เห็นจริงๆเหรอว่าเพราะอะไร หรือแกล้งตีมึน
บทความนี้จะชี้ให้เห็นจนทิ่มลูกตาเลยว่า ทำไมแมนยูถึงได้เป็น “แชมป์จุดโทษ”
ไม่ใช่ฟลุค ไม่ใช่ดวง แต่เป็นความยอดเยี่ยมในเชิงแทคติกล้วนๆ
1. ลูกจุดโทษแทบทั้งหมดใสสะอาด
จนถึงตอนนี้ ณ วันที่เขียนกำลังจะเจอกับเซบีญ่ารอบรองชนะเลิศยูโรป้าลีก ซีซั่นนี้เราได้ลูกโทษมาทั้งหมด21ลูก ในพรีเมียร์ลีก14ลูก และถ้วยอื่นๆอีก7 (ยูโรป้าลีก ลีกคัพ เอฟเอคัพ) จากการนั่งดูแทบจะทั้งหมดคือจุดโทษประเภทที่ Certain Penalty และ Clear Penalty ล้วนๆ
จะมีที่เป็นลูกโทษที่มีข้อกังขาเพียง “2ลูก” เท่าที่เห็น โดยลูกแรกจากเกมเจอสเปอร์ ลูกที่แรชฟอร์ดลากมาทางซ้ายจนถึงสุดเส้น แล้วมุสซ่า ซิสโซโก้เกี่ยวปลายเท้าจากด้านหลัง ลูกนั้นถือว่ามีโชคเล็กๆ ซิสโซโก้เกี่ยวปลายเท้าจริงๆและแรชฟอร์ดก็มีทิ้งตัวด้วย แต่กรรมการเองก็อยู่ตรงนั้นและให้จุดโทษไป
ส่วนอีกลูกคือลูกที่กังขาที่สุดในฤดูกาลนี้ที่แมนยูไนเต็ดอาจจะไม่ควรได้ ก็คือลูกที่บรูโน่ แฟร์นันด์ส หันหลังเทิร์นบอลแล้วเรียกจุดโทษได้กับเกมแอสตันวิลล่า ลูกนั้นเท่านั้นเองที่ดูจะก้ำกึ่ง สามารถให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ แต่ถึงจะเป็นลูกนี้ก็เป็นลูกที่กรรมการยืนเห็นชัดมากๆอยู่ดีในจุดที่ไม่ไกลจากที่เกิดเหตุ
นอกนั้นอีก19ลูกก็โปร่งทุกลูกแบบที่ว่า ยังไงก็จุดโทษแน่นอน ไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งทุกลูกล้วนแล้วถูกเช็คภาพช้าซ้ำอีกรอบประกอบ ดังนั้นสิ่งที่ยูไนเต็ดได้ จึงได้มาตามกติกาที่ถูกต้องทั้งสิ้น
ชัดขนาดนี้ยังหาว่าโกงจุดโทษอีกก็ไม่รู้จะว่าไงแล้ว
2. แทคติกของเกมรุก
เรื่องนี้คือเรื่องสำคัญที่สุดที่เป็นคำตอบว่า “ทำไมแมนยูเป็นแชมป์จุดโทษ” (ถ้าคนเหล่านั้นอยากจะใช้คำนี้กันให้ได้) ประเด็นที่เป็นเหตุนี้คือเรื่องของแทคติกเกมรุกล้วนๆ
2.1 แมนยูไนเต็ดใช้การต่อบอลสั้นวิ่งเข้าพื้นที่อันตรายเพื่อสร้างโอกาสยิง
เรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นกันอยู่แล้วถึงรูปแบบการบุกหลักที่ทีมมักจะใช้งานเวลาเจอคู่ต่อสู้ตั้งรับลึกอยู่เสมอ ในยามที่พื้นที่ไม่เปิด และเล่นเกมสวนไม่ได้ การต่อบอลสั้นแบบgive and go เล่นชิ่ง1-2กันเจาะแนวรับเข้าไป เป็นวิธีการหลักๆของทีมเราในยามที่มีบรูโน่ในสนามอยู่แล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเห็นได้ว่ามันมีเรื่องของ “การครองบอลและการเคลื่อนที่” ในกรอบเขตโทษ ซึ่งเป็นปัจจัยสองอย่างที่สำคัญที่สุดในการจะเกิดจุดโทษขึ้นมาได้
ดังนั้นการที่เรานำพาบอลเข้าไปเคลื่อนที่ในกรอบด้วยบอลสั้นให้แล้วไปเช่นนี้ จึงเป็นเหตุที่เราได้จุดโทษบ่อยๆ เพราะการครองบอลและการเคลื่อนที่ในยามที่เป็นฝ่ายครองบอล ถ้าถูกคู่ต่อสู้ขัดขวางการmovement แล้วไม่โดนบอล โอกาสที่จะเรียกฟาล์วได้ก็มีสูง
2.2 การสัมผัสบอลในกรอบเขตโทษ
ดูจาก Regression Analysis ในภาพนี้จากเว็บfootballcritic (ข้อมูล16 July 2020) ที่เป็นวิธีการศึกษาศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร จะเห็นว่าปริมาณการสัมผัสบอลในกรอบเขตโทษคู่แข่ง (Touches in Opponent’s Penalty Area > แกนX) นั้นค่อนข้างสัมพันธ์กับปริมาณการเรียกจุดโทษสำเร็จ (Penalties Won แกนY) โดยดูจากเส้น trendlineที่การกระจายตัวของทีมนั้นจะมีทิศทางค่อยๆเพิ่มขึ้นไปทางขวาบน
อธิบายแบบบ้านๆก็คือ ทั้งสองสถิตินี้มันจะสัมพันธ์กันโดยตรง ยิ่งทีมไหนที่มีปริมาณการสัมผัสบอลในกรอบเขตโทษได้มากๆ(อยู่เยื้องไปซีกขวา) ก็มักเรียกจุดโทษได้บ่อยครั้งตามไปด้วย (เยื้องขึ้นบน)
เอาจริงๆแล้วไม่ต้องใช้วิทยาศาสตร์มาประกอบอะไรมากมาย แค่คิดด้วยcommon senseปกติมันก็ต้องเป็นเช่นนั้นแหละ
ดังนั้นมันจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทีมที่สัมผัสบอลในกรอบคู่แข่งเยอะๆอย่าง ซิตี้ เชลซี ลิเวอร์พูล เลสเตอร์ และแมนยูไนเต็ด จะสามารถเรียกจุดโทษได้บ่อยๆกว่าทีมอื่นในด้านซ้ายล่างของเส้นเทรนด์ของการวิเคราะห์การถดถอยในภาพนี้
2.3 แทคติกการครองบอลเลี้ยงจี้กองหลังในเขตโทษ
ประเด็นที่น่าสนใจจาก 2.2 ก็คือ อ้าว แมนยูไนเต็ดสัมผัสบอลในกรอบคู่แข่งเยอะก็จริง(แกนXในกราฟข้อ2.2) แต่ก็ยังน้อยกว่าเชลซี ลิเวอร์พูล ซิตี้อยู่พอสมควร แต่ทำไมทีมเราได้จุดโทษมากกว่าเขาล่ะ?
คำตอบมันอยู่ที่ “วิธีการเล่น” ที่แตกต่างจากทีมอื่น ทำให้แมนยูเรียกฟาล์วได้มากกว่าทีมเหล่านั้น
แมนยูนั้นมักจะเล่นแบบใช้วิธีการครองบอลให้อยู่กับตัว และพยายามเลี้ยงผ่านคู่ต่อสู้ดังแสดงให้เห็นในตารางล่าง ตรงค่าสถิติ Dribble attempts per game บ่อยกว่าทีมอื่นๆที่ว่านี้นั่นเอง
“ซึ่งการเลี้ยงมันเรียกฟาล์วได้ ต่างจากการส่งบอลที่เรียกฟาล์วไม่ได้”
ข้อนี้สัมพันธ์กันกับสูตรการเล่นที่ใช้ความเร็วตัวรุกในทีมในการเล่นเกมcounter attackด้วยอีกอย่าง เพราะมันคือการจู่โจมเอาชนะโดยใช้ความเร็วสูงของแนวหน้าแมนยูในการเลี้ยงผ่าน ซึ่งแทบทุกครั้งไม่มีนักเตะฝั่งตรงข้ามสามารถหยุดแรชฟอร์ด มาร์กซิยาลได้เลยในกรอบเขตโทษ และสุดท้ายแนวรับพวกเขาเหล่านั้นก็พลาดฟาล์วในที่สุดเมื่อความเร็วเป็นรองเหล่าตัวรุกสปีดจัดจ้านของปีศาจแดงเหล่านี้
ข้อมูลเมื่อเดือนมกราคมปี2020 ขนาดว่ายังไม่มีบรูโน่เข้ามาเต็มๆ จะเห็นว่า ปริมาณการได้บอล สัมผัสบอลเล่นในกรอบเขตโทษคู่แข่งนั้นแมนยูก็อยู่อันดับสามแล้ว แต่พอมาดูวิธีการเล่น จะเห็นเลยว่า ทีมเรานั้นใช้การเลี้ยงกินตัวผ่านคู่ต่อสู้เยอะกว่าคนอื่น เพราะมีattemptsในตอนนั้นสูงถึง400ครั้ง หรือราวๆ20ครั้งต่อเกม ซึ่งเยอะมากที่สุดในลีก
กลับกัน ทีมอย่างแมนเชสเตอร์ซิตี้และลิเวอร์พูลน้อยกว่าเราในจุดนี้ เพราะพวกเขาใช้วิธีการรูปแบบอื่น เช่น เน้นเกมการจ่ายบอลไปมาของซิตี้ และบอลไดเร็คต์ของลิเวอร์พูลเป็นต้น อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การเลี้ยงครองบอล มันเรียกฟาล์วได้ แต่กลับกัน วิธีเล่นด้วยจ่ายบอลเป็นหลักของซิตี้ มันเรียกฟาล์วไม่ได้ (เวลาจ่ายบอลพลาดก็ไม่ได้ฟาล์วไง แต่ถ้าคู่แข่งมาแย่งตัวเลี้ยงฝ่ายเราแล้วพลาด เรามีโอกาสได้ฟาล์ว)
เมื่อนำข้อมูลการเล่นที่แสดงให้เห็นว่า แมนยูไนเต็ดมีวิธีการเล่นที่เป็นการลากเลื้อยครองบอลไว้กับตัวมากกว่า มารวมกับการได้บอลในกรอบเขตโทษ และเลี้ยงจี้ใส่กองหลังเข้าด้วยกันแล้ว มันจึงเป็นการ “สร้างโอกาสการถูกทำฟาล์วในกรอบ” จึงเป็นผลลัพธ์ออกมาที่ปริมาณการได้จุดโทษในลีกของเรานั้นมีถึง 14 ลูก เยอะกว่าทีมอื่นอย่างเห็นได้ชัด จนได้แชมป์จุดโทษอย่างที่เห็น
สามารถพูดได้ว่า แมนเชสเตอร์ยุไนเต็ดนั้นใช้วิธีการสร้างโอกาสการถูกทำฟาล์วในกรอบเขตโทษ จากการครองบอลเล่นในพื้นที่อันตรายมากเป็นอันดับต้นๆของลีก + การพยายามครองบอลในจุดนั้นเพื่อเรียกฟาล์วมากกว่าทีมอื่นๆนั่นเอง จึงเกิดปริมาณการได้จุดโทษเยอะอย่างที่เห็น
ภาพชินตาที่เราเห็นกันบ่อยๆก็คือ Rashford ไม่ก็ Martial จะเลี้ยงครองบอลด้วยตัวเองกระชากเข้าไปเล่นอยู่ในกรอบเขตโทษ แล้วพยายามเจาะด้วยทั้งความเร็ว การชิ่งสั้น1-2 การเลี้ยงเพื่อพยายามจะเอาชนะผ่านคู่ต่อสู้ให้หลุดไปยิงให้ได้ ทั้งหมดนี้มันจึงทำให้คู่ต่อสู้ต้องพยายามจะหยุดการเล่นของเราในแอเรียอันตรายของพวกเขา และหลายๆครั้งก็พลาดเจอความสามารถของเด็กๆพวกนี้เล่นงาน จนเรียกจุดโทษได้สำเร็จ เป็นการรวมกันของเหตุผลข้อ 2.1-2.3 เข้าด้วยกันทั้งนั้นเองในเรื่องวิธีการเล่นที่เรียกฟาล์วในกรอบเขตโทษได้บ่อยๆ
ตัวอย่างของแทคติกนี้นั้น ในเกมสวนกลับที่โซลชามักจะใช้ความเร็วของกองหน้าในการลากบอลจี้ใส่กองหลังคู่ต่อสู้เสมอ ลูกนี้แรชฟอร์ดก็ลากบอลเข้าใส่กองหลังเชลซีในต้นซีซั่นเลย(ลูกแรกเลยอันนี้) แทนที่แรชจะเลี้ยงหนีไปทางซ้าย(ซึ่งโล่งๆ)
แต่เปล่าฮะ เขาเลี้ยงตัดเข้าขวาจี้ใส่ซูม่าเฉย แล้วซูม่าเสียหลัก พลาดรวบแรช จนเราได้จุดโทษ
ข้างบนนี้คืออีกลูกที่แรชฟอร์ดลากในเกมเจอกับสเปอร์ดังกล่าว แล้วลากเข้าหาตัวป้องกันจนเรียกฟาล์วจากซิสโซโก้ได้สำเร็จ ลูกนี้มีโชคช่วยด้วย แต่มันก็คือการเข้าไปสร้างความเสี่ยงในพื้นที่อันตรายถึงกรอบสำเร็จ ไม่แปลกที่อาจจะเกิดการเป่าขึ้นถ้าก้ำกึ่ง
ดอกนี้ยิ่งชัด แรชฟอร์ดในการตัดเข้าในแบบปีกIFจากกราบซ้าย ไคล์ วอล์คเกอร์ที่เสียบอลหลุดตำแหน่งหายไปแล้วนั้นมาชะลอเกมไม่ทัน แรชฟอร์ดได้ลากดวลใส่แบร์นาโด้ที่ไม่ได้เก่งเกมรับ ขณะที่จอห์น สโตน ซึ่งยืนซีกซ้ายก็หุนหันเข้ามาช่วยบล็อค ทำให้เกมรับแมนซิเสียทรงเละเทะในจังหวะนี้ และแรชฟอร์ดที่เห็นกำแพงมนุษย์ข้างหน้า4-5ตัว กลับเลือกทำในสิ่งที่ผิดวิสัยอีกครั้ง นั่นก็คือ แทนที่จะหนี เขากลับพยายามแหวกฝ่าวงล้อมไปข้างหน้าผ่านตัวเหล่านี้ และเรียกฟาล์วจนสำเร็จ
ชัดซะยิ่งกว่าชัด
อันนี้คือในเคสการใช้movementในการเล่นสั้นเร็วเข้าไปในกรอบเขตโทษ เส้นเหลืองคือมาร์กซิยาลวิ่งทำทางเข้าในกรอบ แรชเล่นสั้น(เส้นแดง)ต่อให้เพื่อน จากนั้นจังหวะถัดไปนี่ก็ตู้ม โกโก้ครันช์ หมากโดนรวบด้วยกองหลังตัวสุดท้ายของวูล์ฟ ได้จุดโทษไปตามระเบียบ
3. จุดโทษยุคนี้มี VAR ตรวจสอบให้อีกชั้น
เรื่องของ VAR นั้นก็ถือว่ามีส่วนช่วยให้เกมยุคนี้เกิดจุดโทษที่โปร่งใส และรวมถึงปริมาณโอกาสที่ภาพรีเพลย์จะส่งสัญญาณให้กรรมการตัดสินใจเป่าให้ หรือไม่ให้อีกอย่างหนึ่ง ถ้าวัดเป็นปริมาณทั้งลีกจากเรื่องจุดโทษปีนี้ที่มีVAR พรีเมียร์ลีกเกิดทั้งหมด91ครั้ง เทียบกับซีซั่นก่อนถือว่าน้อยกว่า เพราะมีจุดโทษถึง 103ครั้ง แต่ก็ยังเยอะกว่าสองปีที่แล้วที่มี 80ครั้งเช่นกัน
VARทำให้ผู้เล่นกองหลังมีการปรับตัวมากขึ้นอีกด้วยที่จะไม่เข้าพรวดและเก็บมือเรียบร้อย เพราะทุกๆจุดกล้องเห็นได้หมด
ต้องบอกว่า การที่แมนยูไนเต็ดได้จุดโทษมาบ่อยครั้งนี้ ทุกครั้งก็ล้วนแล้วแต่มีภาพวิดิโอเช็คซ้ำสองจากทีมนอกสนามแล้ว รวมถึงการได้เห็นต่อหน้าสายตาแฟนบอลทั่วโลกด้วย ซึ่งในฐานะคนดู เท่าที่เห็นก็ไม่มีอะไรน่ากังขา เพราะลูกที่แมนยูไม่ได้ประตูเพราะโดนVARเช็คก็มีเยอะแยะ ในขณะที่ลูกที่ยืนยันว่าเป็นจุดโทษจริงๆ ก็มีให้เห็นทุกนัด
ยุคนี้สมัยนี้มันน้อยลงไปเยอะแล้ว ไอ้การจะมาเป่าช่วยโกงกันง่ายๆในเกมสำคัญๆอย่างพรีเมียร์ลีก อย่างน้อยที่สุดก็มีภาพวิดิโอเช็ค มันดีกว่าบอลยุคเก่ามาก
เมื่อมีการรีเช็คอย่างละเอียดโดย VAR การได้จุดโทษบ่อยๆของแมนยูไนเต็ดมันยิ่งถูกตอกย้ำอีกว่า การมีอยู่ของVAR มันทำให้จุดโทษแมนยูนั้นใสสะอาดยิ่งกว่าในยุคอดีตอีกเพราะต้องถูกเช็คเพื่อความแน่ใจทุกครั้ง ก่อนที่กรรมการจะแจกให้กับทีมเรา เพราะปัจจุบันนี้ไอ้ประเภทที่แอบดึงในกรอบเนียนๆ หรือการแฮนด์บอลแปลกๆในอดีต ทุกวันนี้ก็ถูกจับเป็นแฮนด์บอลหมดแล้ว
ถ้าไม่มีVARก็น่าจะไม่ได้เห็นจุดโทษEpicของแรชฟอร์ดยิงปารีสลูกนี้
VARช่วยทำให้เรื่องของการจะได้จุดโทษเพราะดวงช่วย(ตัดสินผิด+มองไม่เห็น) แบบในอดีตมันหายไปเยอะมาก
จุดโทษในเกมกับ PSG เมื่อปีก่อน ถ้าไม่มีVAR แฟนผีก็คงจะไม่รู้สึกอะไรกับลูกที่ดาโลต์ยิงติดบล็อคกองหลังปารีส แล้วบอลแฉลบออกไป ลูกแบบนี้แฟนบอลก็คงหวังได้แค่ลูกเตะมุมแน่ๆ แต่จริงๆมันคือจุดโทษ เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ในเกมกับนอริชในปีนี้ บอลพุ่งมาติดบล็อคแล้วโดนแขนผู้เล่นนอริชออกไปเช่นกัน
การใช้VARของพรีเมียร์ลีกอาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบ100% แต่การมีอยู่ของมันก็ช่วยให้แมนยูไนเต็ด ได้ “จุดโทษที่ควรจะได้” อย่างที่เห็นในสองลูกตัวอย่างนี้
สรุปแล้ว ยุคนี้จะมาแซะเราแบบตื้นๆว่าแมนยูซื้อจุดโทษนั้น นี่ถามVARที่เขาใช้เช็คความโปร่งใสกันทุกเกมยัง?
4. Game State ตอนได้จุดโทษ และimpactต่อผลการแข่งขัน
ประเด็นเกี่ยวกับลูกจุดโทษแมนยูนั้นใช่ว่าจะมีแต่ข้อดี แต่ข้อที่ต้องพิจารณาว่า มันส่งผลกับเรามากมายเพียงใด ก็คือเรื่องของ สถานะของเกมขณะเรียกจุดโทษได้ และการยิงเข้ามันImpactหนักมากต่อผลการแข่งขันแมนยู
ยกตัวอย่างให้ดูง่ายๆตามภาพ
ข้อมูลจาก footballcritic.com
ให้ลองดูช่องที่เป็น Game State ก็คือสถานะของเกมตอนที่ได้จุดโทษนั้นๆ จะเห็นได้ว่า แมนยูได้ลูกโทษตอนเกมกำลังเสมออยู่แทบทุกครั้ง บ่อยมากๆ และfinal result ที่ยิงลูกโทษเข้าไปสำเร็จก็คือชนะแทบทุกเกม ส่วนเกมที่ตามอยู่บางเกมเมื่อยิงเข้าไป ผลก็กลายเป็นเสมอและเซฟแต้มกลับมาให้ทีมได้อย่างเช่นแมตช์สเปอร์เป็นต้น ต้นปีก็มีลูกที่ป็อกบายิงพลาด และก็จบเกมไปด้วยผลเสมอกับวูล์ฟไปเลย
ดังนั้นยูไนเต็ดที่เรียกจุดโทษได้บ่อยๆ จึงสามารถทำผลงานได้ดีมากอย่างที่เห็นกัน เพราะมันอิมแพ็คเยอะต่อผลของเกมจริงๆ
ลูกที่บรูโน่ยิงตีเสมอคลับไก่ก็ทำให้เรามีแต้มกลับบ้าน ส่วนลูกยิงจุดโทษของแรชใส่พาเลซก็อาจเปลี่ยนโฉมหน้าเกมได้เช่นกัน แต่น่าเสียดายว่าอัดเสาเต็มๆ
จุดโทษส่วนใหญ่ที่ยิงได้ในซีซั่นนี้มักจะเรียกได้ตอนที่เกมเสมออยู่ หรือห่างกันแค่ลูกเดียวของทั้งสองทีม การยิงได้แต่ละลูกในเกมฟุตบอลถือว่าสำคัญมากๆที่ส่งผลต่อผลท้ายเกมมากๆหากยิงเข้า ดังนั้นการที่ทีมได้จุดโทษบ่อยๆยามที่สถานการณ์กำลังเสมอกันอยู่ จะเห็นชัดว่าทีมของโอเล่ใช้ลูกpenaltiesในการปลดล็อคเกมที่เจาะลำบากอยู่เป็นประจำ
ภาพข้างบนนี้เป็นการใช้ game-state มาวิเคราะห์โดยแยกเฉพาะประสิทธิภาพในเกมรุกของแมนยูไนเต็ดซีซั่นนี้เมื่อเกมกำลังตื้อตัน ดูที่Expected goals per 90 ซึ่งก็คือ ความน่าจะเป็นที่คาดว่าทีมจะยิงได้ต่อ90นาทีจากการสร้างสรรค์โอกาส และเทียบกับประตูที่ยิงได้จริง Goals per 90
ความน่าจะเป็นที่ทีมจะยิงประตูได้นั้น ยามที่ได้ลูกโทษน่าจะทำได้อยู่ที่ 1.46 ประตู และถ้าไม่มีจุดโทษ ทีมน่าจะยิงได้ 1.07ลูก
ส่วนประตูที่ยิงได้จริงต่อ90นาทีนั้น หากมีจุดโทษ แมนยูยิงได้ 1.51ลูก ส่วนเกมที่ไม่มีจุดโทษ แมนยูยิงได้แค่ 1.07 ต่อ90นาที
กราฟแท่งแนวนอนในรูปนี้แบ่งกรุ๊ปย่อยของทีมในพรีเมียร์เอาไว้สามชนชั้น นั่นก็คือ
- พวกลุ้นแชมป์ อย่างลิเวอร์พูล กับ ซิตี้ (เส้นขวาสุด)
- พวกท็อปโฟร์ เชลซีกับเลสเตอร์ (เส้นกลาง)
- พวกท็อป8 รวมวูล์ฟ สเปอร์ เชฟยู
กราฟแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่แมนยูน่าจะยิงประตูได้ในซีซั่นนี้ จะเห็นว่าประสิทธิภาพเกมรุกแมนยูนั้นอยู่ต่ำมาก ห่างจากกลุ่มลุ้นแชมป์ และกลุ่มท็อป4 แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีระยะห่างจากพวกตามหลังอยู่บ้างพอสมควร ซึ่งในแง่ของการทำประตูนั้น gapระหว่างผู้ท้าชิงกับทีมอื่นๆที่เหลือ18ทีมในลีกนั้นกว้างมากๆ แต่อย่างไรก็ตามยูไนเต็ดก็อยู่ในระดับที่มีลุ้นเข้าใกล้ขอบเขตทีมแย่งพื้นที่UCLอยู่ (1.46 ของแมนยู ต่ำกว่าavg ประตูที่น่าจะได้ของพวกทีมเต็งท็อป4ที่1.80)
สิ่งที่ทำให้แฟนบอลผีแดงกังวลก็คือ อิมแพ็คของจุดโทษนั้น มีผลต่อสถิติประตูเหล่านี้มากๆ เพราะการได้จุดโทษมันBoost ประตูต่อ1เกมของเรา มากถึง “41.1%” (เกมไหนไม่ได้จุดโทษ เกมนั้นยิง1.07ลูกต่อเกม แต่ถ้าได้ จะขึ้นเป็น 1.46 เป็นต้น ซึ่งเยอะขึ้นมาเกือบ50%)
จุดโทษเป็นเพียงสิ่งเดียวจริงๆที่ทำให้พวกเราสถิติการจะได้ประตูนั้นเหนือกว่าและแยกมาจากกลุ่ม”ท็อป8″ แบบเห็นได้ชัด (ดูจากกราฟจะเห็นเลยว่า ถ้าเกมที่แมนยูไม่มีจุดโทษ ก็ยิงประตูได้น้อยกว่า หรือเท่าๆกับพวกท็อป8ด้วยซ้ำ ซึ่งก็คือพวกกลางตาราง แบบที่เราเป็นทีมกลางตารางต้นซีซั่นนั่นแหละ)
ถึงอาจจะดูไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามการได้จุดโทษปีนี้อาจส่งผลให้ถดถอยลงจากค่ามีนพอควรเหมือนที่เลสเตอร์เป็นในปี 16/17 ถ้าแมนยูเจอปัญหาเดียวกันและได้รับผลเสียจากข้อนี้ถ้าได้จุดโทษน้อยลง เราก็อาจจะต้องลงมาสู้เพื่อท็อปโฟร์อีกเหมือนเดิมในปีหน้า
ไม่ต้องพูดถึงลิเวอร์พูลกับแมนซิตี้เลยที่พวกเขายังไงก็ตัวเต็งแย่งแชมป์เหมือนเดิม
5. แชมป์จุดโทษ และการเติมเต็มของบรูโน่
โดยรวมแล้วถือว่าเป็นคำชมซะด้วยซ้ำสำหรับคำว่าแชมป์จุดโทษนี้จากคำพูดของกองเชียร์คู่แข่งบางทีม ก็สมเหตุสมผลของเค้านะ เราควรจะภูมิใจซะอีกที่ทีมเล่นดีจนสร้างสถิตินี้ได้เหนือกว่าคนอื่น เพราะอย่างที่กล่าวไปเยอะแล้วข้างต้นว่า การได้จุดโทษบ่อยๆ มันสะท้อนภาพรวมของ “เกมรุก” ทีมพวกเราไงว่า เล่นรุกได้มีประสิทธิภาพจนคู่แข่งต้องพลาดเสียฟาล์วให้เราอยู่บ่อยๆ
สถิติของแมนยูไนเต็ดในเกมลีกปีนี้คือ จุดโทษ14ครั้ง ยิงเข้า10 พลาด4(ช่วงยังไม่มีบรูโน่) คิดเป็นยิงจุดโทษเข้า 71.4%
(เป็นการยิงในบ้าน7ลูก นอกบ้าน7ลูก 4ลูกที่ยิงไม่เข้านั้น ยิงพลาดไป1 โดนเซฟ3)
เอาจริงๆแมนซิตี้เองก็เรียกจุดโทษได้บ่อยๆไม่ต่างจากเราเหมือนกันด้วยซ้ำ ไม่เห็นแปลกอะไรเลยที่ทีมใหญ่จะได้บ่อยๆ อันดับสองอย่างซิตี้ได้จุดโทษมา 11ครั้ง ยิงเข้าไป6 คิดเป็น 54.5% ส่วนอันดับสาม ถือว่า สะใภ้มาเถอะฟักเก้อ มากๆ เป็นวัตฟอร์ดที่ได้จุดโทษ 8ครั้ง แถมยิงเข้าไป7 คิดเป็น 87.5% ที่น่ากลัวคือเชลซีอันดับ5 ได้7เช่นกัน ยิงเข้าไป7เลย เป็นประตูจากจุดโทษ คิดเป็นการยิงได้100%
ไม่เห็นมีใครไปแซะซิตี้ วัตฟอร์ด เชลซีมั่งเลยน้ออออ (ฮา)
อย่ามาระรานกุ ไอสาด
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการได้แชมป์จุดโทษของเรานั้น ก็คือการเติมเต็มคนสังหารจุดโทษที่ชัวร์และแน่นอนที่สุดอย่างบรูโน่ แฟร์นันด์ส ที่เข้าทีมมาและรับหน้าที่เพชรฆาตมือหนึ่งของทีม จากวันนั้นจนวันนี้ พี่หนวดของเรายังยิงไม่พลาดเลย และแทบจะใส่สกอร์ได้ทันทีในยามที่เรียกฟาล์วได้สำเร็จ ต่างจากที่เมื่อก่อนต้นซีซั่น ป็อกบาและแรชฟอร์ดนั้นยังสลับกันยิงพลาดอยู่เลย
ไอ้71.4% ถ้าเรามีบรูโน่อยู่กับทีมตั้งแต่ครึ่งฤดูกาลแรก มันอาจจะเป็น 100% 14เข้า14ไปเลยก็ได้ใครจะรู้
จุดตรงนี้ต้องบอกว่า ลูกจุดโทษของเรากลายเป็นไม้ตายสำคัญได้ ก็เพราะการที่มี “คนยิง” มือประจำที่แน่นอนและไม่พลาดเลยแบบบรูโน่มาทำหน้าที่แทนตัวที่มีความไม่แน่นอนในการยิง มันทำให้แมนยูเก็บผลการแข่งขันดีๆได้ต่อเนื่องแบบเห็นได้ชัด
6. “เจตจำนงแห่งO” และสามปัจจัยเรียกจุดโทษที่แมนยูมีครบ
ข้อนี้ต้องขีดเส้นใต้ย้ำกันชัดๆเลยว่า ไอ้ที่ยุคนี้เราเรียกจุดโทษได้กระจุยนี่ มันเกิดขึ้นในยุคโซลชาอย่างมีนัยสำคัญเห็นได้ชัด เพราะตอนที่เขาเข้ามาคุมทีม ปีที่แล้วเราก็ได้แชมป์จุดโทษเหมือนกันที่12ครั้ง ทั้งๆที่ก่อนโอเล่จะเข้ามา แมนยูเพิ่งจะเรียกจุดโทษได้3ครั้งในลีกเท่านั้นเอง (4ครั้งทุกถ้วย) ซึ่งมันปริมาณเท่ากันกับซีซั่นแรกของน้ามูในปี2016/17ทั้งฤดูกาล และน้อยกว่าของปี17/18 แค่ครั้งเดียวเอง (ปีนั้นได้4ครั้ง)
เรื่องนี้มันคงไม่บังเอิญมั้ง ตัวเลขชัดขนาดนี้ว่า โซลชาเข้ามาปีก่อน ช่วงครึ่งซีซั่นหลังแมนยูก็เรียกจุดโทษไปรัวๆ9ครั้งในยุคเขา(11รวมทุกถ้วย) ปีนี้ซัดอีก14 น่าจะไม่ต้องสงสัยแล้วว่า “เพราะใคร?”
สองปีในยุคโซลชา เปลี่ยนแมนยูจากทีมที่ได้จุดโทษต่ำกว่าค่าเฉลี่ย กลายเป็นทีมที่ดึงมีนด้วยค่าสูงสุดให้ลีกแทนซะงั้น
มีเรื่องน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ อีกทีมที่ได้จุดโทษเยอะพอๆกับแมนยูตลอด3-4ปีที่ผ่านมารวมกัน มันคือทีมคริสตัล พาเลซ ซึ่งนำโดยหัวหอกเกมรุกอย่าง วิลฟรีด ซาฮา โดยที่ซาฮานั้นมีค่าสถิติอยู่สามอย่างที่สูงมากๆอย่างโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ซึ่งมันคือหัวข้อด้านบนในข้อ 2. ที่เป็น “ปัจจัยเรียกจุดโทษ” ที่เขียนไว้แล้ว ซาฮาเองก็มีค่าพวกนี้สูงเช่นกัน นั่นก็คือ
Dribbles, touches in the box, fouls won. นี่คือจุดแข็งของซาฮาที่ทำให้พาเลซ เป็นสิ่งที่แมนยูมีสามอันนี้ครบเช่นกัน
นี่คือนักเตะที่มีปริมาณการสัมผัสบอลในกรอบ และปริมาณการถูกทำฟาล์วเฉลี่ยตลอด90นาที จะเห็นว่าซาฮา และตัวเอ้อย่างกรีลิช ที่ว่ากันว่าเป็นตัวเรียกจุดโทษได้บ่อยๆ จะเห็นว่ามีสองสแตทนี้สูงมากๆ ก็คือ ได้บอลในกรอบบ่อย และเป็นตัวเรียกตีน(เรียกฟาล์ว)ได้บ่อยๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียกได้ในกรอบนะ แต่มันเป็นคู่อันดับที่แสดงให้เห็นว่า นักเตะที่มีค่าเหล่านี้สูงๆ ทั้งการจับบอลในกรอบ การเรียกฟาล์ว ปริมาณการเลี้ยง ยิ่งทำได้มาก ยิ่งเรียกจุดโทษเยอะมาก เช่นเดียวกับกราฟล่างที่เป็นกราฟของตัวเลี้ยงเรียกตีนแบบชัดเจน
อยากรู้ว่าตัวไหนชอบเลี้ยงเรียกตีนที่สุดในลีกก็อันนี้เลย (ฮา)
เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นชัดว่าสถิติของกรีลิชกับซาฮานี่คือของจริงแน่ๆ ชอบครองบอลเลี้ยงด้วยตัวเองและเรียกฟาล์วกันได้บ่อยๆทั้งคู่ และนอกจากนี้หากเทียบการเลี้ยงบอล คู่กับ การสัมผัสบอลในกรอบเขตโทษก็จะเป็นตามกราฟล่างนี้
ที่จะแสดงให้เห็นคือ กราฟแต่ละกราฟ นักเตะแต่ละคนก็จะเก่งกันคนละแบบ อย่างเช่นกรีลิชในกราฟล่างสุดจะเห็นว่า การสัมผัสบอลในกรอบเขาน้อยมาก แต่เรียกฟาล์วได้เยอะสุด(กราฟบนๆ) / ราฮีม สเตอลิ่ง เป็นตัวที่ได้บอลในกรอบเขตโทษบ่อยครั้งที่สุด แต่เลี้ยงบอลน้อย / เจมส์ แมดดิสัน เรียกฟาล์วได้เยอะ แต่การเลี้ยงบอลและการสัมผัสบอลในกรอบน้อยมาก
เมื่อรวมสามกราฟเข้าด้วยกัน จะเห็นได้ชัดว่า วิลฟรีด ซาฮานั้น อยู่ในแรงค์ค่าสูงในทุกๆกราฟ ต่างจากตัวอื่นที่เด่นคนละอย่าง แต่ซาฮาค่าสูงทุกๆพารามิเตอร์เลย (ได้บอลในกรอบ / เลี้ยงบอล / เรียกฟาล์ว ต่อเกม90นาที)
สิ่งนี้แหละมันจึงเกี่ยวพันในข้อ 2.3 ที่ว่า ทำไมแมนยูซึ่งได้บอลเข้าไปเล่นในกรอบเขตโทษคู่แข่งน้อยกว่าซิตี้ลิเวอร์พูล แต่กลับได้จุดโทษเยอะกว่าแบบทิ้งขาดลอยดังเช่นในปีนี้ที่เราได้14 แต่ซิตี้ได้ 12 และลิเวอร์พูลได้แค่ 5 ตามลำดับเท่านั้นเอง เพราะเราเล่นด้วยการเลี้ยงครองบอลมากกว่า และเรียกฟาล์วได้เยอะกว่านั้นเอง จุดโทษมันเลยมาเยอะ
จำนวนการได้ฟาล์วต่อเกมมากกว่าซิตี้ลิพูแบบทิ้งขาด
มันคือเจตจำนงแห่ง “O”(le) ที่ให้นักเตะเราเล่นด้วยการครองบอลเลี้ยงบอลในกรอบเขต เพื่อเรียกจุดโทษอย่างชัดเจน และสิ่งที่ทำให้แมนยูแตกต่างจาก วิลล่าและพาเลซในกราฟข้างบน ทั้งๆที่จำนวนต่อเกมพอๆกัน3ทีม แต่เราอยู่สูงในตารางลีก นั่นก็คือการได้ฟาล์วต่อเกมของเรานั้นมักจะไปเกิดใกล้ๆกรอบเขตโทษ หรือไม่ก็ข้างในมากกว่า
มันแปลว่า แมนยูไม่ได้เพียงแค่เรียกฟาล์วได้เยอะ แต่พวกเรา “เรียกฟาล์วในพื้นที่อันตราย” ได้เยอะต่างหาก
7. Conclusion
สรุปแล้วนั้นแมนยูจริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นทีมเดียวที่มีตัวรุกสายสปีด แถมยังไม่ได้เป็นทีมที่บุกดีที่สุดในลีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักจะเรียกจุดโทษไม่ได้เวลาเจอทีมที่รับลึก ซึ่งไม่ได้แปลกอะไรเพราะลิเวอร์พูลเองก็ได้จุดโทษแค่5ลูกปีนี้ สเปอร์อาร์เซนอลได้แค่4ครั้งเองด้วยซ้ำ
แมนยูนั้นมักจะใช้งานกองหน้าเราวิ่งเข้าเล่นงานจี้ใส่กองหลังศัตรู ซึ่งเรามีตัวเหล่านี้ที่เรียกฟาล์วเก่งๆ และสไตล์การเล่นพื้นฐานของทีมมันเอื้อต่อการได้จุดโทษค่อนข้างมากอย่างที่กล่าวไปแล้ว (เลี้ยงบอล, เล่นในกรอบเขตโทษ, เคลื่อนที่ใช้ความเร็ว, เรียกฟาล์ว) Factก็คือ แมนยูไนเต็ดยังได้จุดโทษในเกมที่ไม่ใช่พรีเมียร์ลีกอีก7เม็ด ซึ่งก็ไม่ได้มีVARเป็นส่วนช่วยสำคัญแต่อย่างใดนั้นเป็นหลักฐานอย่างดี
และผ่านมาจนจบซีซั่นแล้วในที่สุดเราก็กลายเป็นทีมที่ได้จุดโทษเยอะในลีก เป็นแชมป์ดังที่เขาว่าจริงๆ ด้วย14ในลีก และอีก7จากบอลถ้วย แถมตอนนี้ยังเหลืออีก “2นัด” ในเกมยูโรป้าลีก ที่อาจจะได้อีกสักสองลูก รวมเป็น 23จุดโทษในซีซั่นเดียว ก็..เป็น…ได้
ทุกสิ่งมันหลอมรวมกันและแปลความหมายได้ว่า “เกมรุกแมนยูไนเต็ดมีพิษสงอันตรายโคตร” และที่สำคัญที่สุด เราทำเกมบุกไปพื้นที่อันตรายในfinal-thirdได้บ่อยๆ แล้วเรียกฟาล์วได้ในกรอบเขตโทษ นี่ต่างหากคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และสมควรจะให้เครดิตเกมรุกทีมเรามากกว่าที่เรียกฟาล์วได้แทบทุกเกม
คำเย้ยหยันเหล่านี้คนพูดอาจจะอยากถากถางแฟนผีให้เจ็บใจเล่น แต่หารู้ไม่ มันคือ”คำชม”แมนยูไนเต็ดต่างหาก
..ก็โดนทำฟาล์วในกรอบเขตโทษ จะให้ตูได้ลูกเตะมุมรึไงล่ะ ไอ่ซัซซซซ!(เสียงน้าค่อม)
เพิ่มเติม >>> https://www.ufabetwins.com/
คลิกเลย >>> https://www.thehencommandments.com/